วันจันทร์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2560



             สิ่งมีชีวิตในอาณาจักรพืช มีหน้าที่สำคัญต่อระบบนิเวศคือการทำหน้าที่เป็นผู้ผลิตให้กับสายใยอาหาร เนื่องจากพืชสามารถนำสารอนินทรีย์ที่มีอยู่ในสิ่งแวดล้อมมาใช้ในการสร้างอาหารพวกคาร์โบไฮเดรต เช่น แป้งและน้ำตาลให้กับสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นที่ไม่สามารถสร้างอาหารเองได้นอกจากคาร์โบไฮเดรต สิ่งที่ได้จากกระบวนการสังเคราะห์อาหารด้วยแสงของพืชยังมีแก๊สออกซิเจนซึ่งเป็นแก๊สที่สิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่ในโลกนี้จำเป็นต้องใช้ในกระบวนการหายใจและพืชใช้แก๊สO2เป็นวัตถุดิบในการสร้างอาหารพืชจึงมีบทบาทในการช่วยรักษาอุณหภูมิโลกส่วนหนึ่งดังมีรายงานยืนยันว่า ป่าในเขต Tropic มีส่วนช่วยในการลดความร้อนของโลก (อย่างไรก็ตามเนื่องจาก Scientific uncertainty ข้อมูลดังกล่าวมีข้อเสนอที่แตกต่างออกไปด้วยคือมีรายงานบางฉบับระบุว่าป่านอกเขต Tropic เป็นตัวกักเก็บความร้อนไว้)
พืชเป็นสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ที่ประกอบขึ้นจากเซลล์แบบยูคาริโอติกแต่พืชต่างจากสัตว์ที่พืชนั้นมีผนังเซลล์และพืชนั้นแตกต่างจากเห็ดราเพราะองค์ประกอบของผนังเซลล์เป็นสารพวกเซลลูโลสเป็นส่วนใหญ่พืชสามารถแปรเปลี่ยนพลังงานจากแสงให้เก็บไว้ในรูปของพลังงานเคมีโดยอาศัยรงควัตถุต่างๆ
การจัดจำแนกพืชนั้นมีด้วยกันหลายแบบจากหลายกลุ่มที่ทำการศึกษาในยุคของWhittacker (1986) ได้แบ่งพืชออกเป็น 3 กลุ่มคือสาหร่ายหลายเซลล์ (Multicellular algae) ไบรโอไฟท์ (Bryophyte) และเทรคีโอไฟต์ (Tracheophyte) และต่อมาเมื่อมีการนำความรู้ด้านชีววิทยาโมเลกุลมาช่วยในการจัดกลุ่มก็มีการเปลี่ยนแปลงไปไปอีกและมีรูปแบบการจัดที่หลากหลายมากมายมีการเปลี่ยนแปลงชื่อวิทยาศาสตร์ตั้งแต่ระดับ Division ไปจนถึงระดับSpecies หากแบ่งรูปแบบการจัดจำแนกพืชจากอดีตถึงปัจจุบันอาจแบ่งเป็น 5 ยุค คือ

ยุคที่ 1 ยุคโบราณ (Period of the Ancients ก่อนคริสต์ศักราช 300 ปีค.ศ.1500)
การจัดจำแนกพืชในยุคนี้มีการจำแนกพืชโดยใช้รูปร่าง (Form) ลักษณะนิสัย (Habit) และ
ขนาด (Size) หรือการใช้ประโยชน์ของพืชเป็นหลักนักพฤกษศาสตร์ที่สำคัญในยุคนี้ คือ Theophrastus ซึ่งได้ชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างของพืชมีดอกกับพืชไม่มีดอกพืชมีเพศผลเจริญมาจากรังไข่และจัดพวกไม้ยืนต้นเป็นพวกที่มีความเจริญสูงสุด


ยุคที่ 2 ยุคนักสมุนไพร (Period of the Herbalists ค.ศ.1500-1580)
ในยุคนี้มีนักพฤกษศาสตร์ที่ศึกษาพืชสมุนไพรและการจัดจำแนกพืชออกเป็น 2 กลุ่มคือกลุ่ม
พืชมีดอก (Perfecti) และกลุ่มพืชที่ไม่มีการสร้างดอก (Imperfecti) และแบ่งกลุ่มพืชตามลักษณะภายนอกที่เห็นคือไม้ยืนต้นและไม้พุ่มและไม้เนื้ออ่อน


ยุคที่ 3 ยุคที่มีการจัดจำแนกพืชโดยเลือกลักษณะสำคัญบางอย่างของพืชขึ้นมาเป็นหลัก
(Period of Mechanical Systems ค.ศ.1580-1760)
ยุคนี้นำเอาลักษณะของอวัยวะที่สำคัญของพืชมาใช้เป็นหลักในการจำแนกเช่นลักษณะของเกสรตัวผู้และตัวเมียนักพฤกษศาสตร์ที่สำคัญในยุกต์นี้คือ (Carolus Linnaeus) ซึ่งได้จัดจำแนกพืชเป็นหมวดหมู่โดยใช้จำนวนเกสรตัวผู้ของพืชเป็นหลักและมีการตีพิมพ์กฎเกณฑ์การตั้งชื่อระบบการจัดจำแนกพืชของ Linnaeusได้รับความนิยมมากในสมัยนั้นแต่ต่อมามีระบบใหม่ที่เหมาะสมกว่าเกิดขึ้นและนิยมใช้มากกว่า


ยุคที่ 4 ยุคที่มีการจำแนกโดยยึดหลักใกล้เคียงกับธรรมชาติมากที่สุด
(Period of Natural System ค.ศ.1760-1880)
ในยุคนี้มีแนวคิดว่าธรรมชาติสามารถอยู่คงที่จึงสามารถยึดหรือนำเอาลักษณะสำคัญของสิ่งมีชีวิตมาเป็นหลักในการจำแนกทั้งลักษณะโครงสร้างสัณฐานของอวัยวะแทบทุกส่วนของพืชมาใช้ประกอบและยังคำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มที่มีสายพันธุ์ใกล้ชิดและใช้ลักษณะของดอกมาเป็นหลักในการแบ่งแยกกลุ่มพืชมากที่สุด


ยุคที่ 5 ยุคที่มีการจัดจำแนกตามแนวคิดของประวัติวิวัฒนาการจนถึงปัจจุบัน
(Period of PhylogenicSystem ค.ศ.1880-ปัจจุบัน)
Arthur Cronquist (1966) ได้มีการศึกษาและจำแนกพืชตามดิวิชั่นโดยใช้รากฐานมาจากโครงสร้างประวัติวิวัฒนาการโดยใช้ศาสตร์หลายแขนงมารวมกันโดยแบ่งอาณาจักรพืชออกเป็น 2 Sub-kingdom ดังนี้
1. Subkingdom Thallobionta ได้แก่ แบคทีเรียสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินสาหร่ายและเห็ดรา
2. Subkingdom Embryobionta ได้แก่ อาณาจักรพืช (Plantae) ซึ่งแบ่งเป็น Division ดังนี้
2.1) Division ของพืชที่ไม่มีเนื้อเยื่อลำเลียง (Nonvascular plants) ได้แก่ Division Bryophyta
(มอส) Hepatophyta (ลิเวอร์เวอร์ท) Anthocerotophyta (ฮอร์นเวอร์ท)
2.2) Division ของพืชที่มีเนื้อเยื่อลำเลียงแต่ไม่มีเมล็ด (Vascular plants without seeds) ได้แก่
Division PsilotophytaLycophytaEquisetophytaPteridophyta
2.3) Division ของพืชที่มีเนื้อเยื่อลำเลียงมีเมล็ดแต่ไม่มีดอก (Gymnosperms) ได้แก่ Division
ConiferophytaCycadophytaGinkgophytaGnetophyta
2.4) Division ของพืชที่มีเนื้อเยื่อลำเลียงมีเมล็ดและมีดอก (Angiosprems) ได้แก่
Division Magnoliophyta (=Angiospermae) นี้แบ่งออกเป็น 2 Class คือClass Magnoliopsida
(พืชใบเลี้ยงคู่) แยกเป็น 6 Sub-class 64 อันดับ 318 วงศ์รวมมีพืชประมาณ 165,000 ชนิด
Class Liliopsida (พืชใบเลี้ยงเดี่ยว) แยกเป็น 5 Sub-class 19 อันดับ 65 วงศ์รวมมีพืชทั้งหมด
50,000 ชนิด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

อ้างอิง http://biologyphylum.blogspot.com https://watikakandumee.wordpress.com https://nutjarinmee.wordpress.com http://www.mwit.ac.th/...