วันศุกร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2560

ดิวิชันแอนโทไฟตา (Division Anthophyta)
           พืชมีท่อลำเลียงจำแนกออกเป็น 2 กลุ่มหรือ 2 คลาส คือ คล าส   Magnoliopsida (Dicotyledons) และคลาส Liliopsida (Monocotyledons) โดยพืชทั้งสองกลุ่มมีความแตกต่างกันดังตารางเปรียบเทียบ

ที่มาภาพ เอกสารประกอบการเรียนวิชา ว40242 ความหลากหลายทางชีวภาพ

             พืชในคลาสนี้เป็นพืชมีดอก (Flowering plants) มีประมาณ 300,000 ชนิดอยู่ได้ทั่วไปทุกแห่งหน บางชนิดมีอายุเพียงฤดูกาลเดียว บางชนิดอายุยืนหลายร้อยปี บางชนิดมีขนาดใหญ่เกือบ 10 เมตรเช่น ยูคาลิปตัส แต่บางชนิดมีขนาดเล็กมากเช่น ผำ หรือไข่น้ำ (Wolffia )




                ลักษณะทั่วไปของพืชกลุ่มนี้คือ มีราก ใบ ลำต้นที่แท้จริง มีระบบท่อลำเลียงเจริญดีมาก Xylem ประกอบด้วย Vessel เป็นส่วนใหญ่ ทำหน้าที่ลำเลียงน้ำ ส่วน Phloem ทำหน้าที่ลำเลียงหาร มีอวัยวะสืบพันธุ์ คือ ดอกเจริญอยู่บนก้านดอก มีทั้งที่เป็นดอกสมบูรณ์ และดอกไม้สมบูรณ์ ดอกสมบูรณ์ประกอบด้วย Sepal PetalStamen และ Pistil เมล็ดมีรังไข่ห่อหุ้ม เมื่อรังไข่พัฒนาเต็มที่จะกลายเป็นผล มีการปฏิสนธิซ้อน มีวงชีวิตแบบสลับ แกมีโตไฟต์มีขนาดเล็กอยู่บนสปอโรไฟต์



ภาพที่ 1 การปฏิสนธิซ้อนในพืชดอก
(ที่มาภาพ : http://cache.eb.com/eb/image?id=72162&rendTypeId=35)




ภาพที่ 2 วงชีวิตแบบสลับของพืชดอก
(ที่มาภาพ : http://waynesword.palomar.edu/images/flcycle.gif)


ภาพที่ 3 เปรียบเทียบพืชดอกชนิดใบเลี้ยงเดี่ยวและใบเลี้ยงคู
(ที่มาภาพ : http://hawaii.hawaii.edu/laurab/generalbotany/images/monocots%20vs%20dicots.jpg)





วันพฤหัสบดีที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2560


ดิวิชันกิงโกไฟตา (Division Ginkophyta)

                ดิวิชันกิงโกไฟตา (Division Ginkophyta) ได้แก่ แป๊ะก๊วย (Ginkgo biloba) ลักษณะที่สำคัญ ลำต้นมีขนาดใหญ่คล้ายพืชดอก แผ่นใบกว้างมีลักษณะคล้ายรูปพัด ใบเรียงชิดกันมากจนเป็นวงรอบข้อ เจริญช้ามาก ต้น sporophyte จะแยกเพศ sperm มีขนาดเล็กเคลื่อนที่ได้มีเมล็ดแต่ไม่มีเครื่องห่อหุ้ม (naked seed) เมล็ดมีขนาดใหญ่ ใช้รับประทานได้ แป๊ะก๊วยชอบอากาศหนาวเย็นทนความหนาวเย็นได้ถึง -30 องศาฟาเรนไฮด์ ถือว่าเป็นพืชโบราณที่ยังเหลืออยู่ในปัจจุบัน มีวิวัฒนาการน้อยมากพบที่ประเทศจีน เกาหลี ญี่ปุ่น ชาวจีนนิยมปลูกต้นตัวผู้ไว้ในวัด ถือว่าเป็นเพศศักดิ์สิทธิ์ ในปัจจุบันเหลืออยู่เพียงชนิดเดียวคือ แป๊ะก๊วย (Ginkgo biloba)


แป๊ะก๊วย (Ginkgo biloba)




วันพุธที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2560

ดิวิชันไซแคโดไฟตา (Division Cycadophyta)

                
                เป็นพืชที่เรียกทั่วไปว่า Cycads หรือปรง พบได้ตั้งแต่ยุค Permian และแพร่กระจายมากในยุค Jurassic ในปัจจุบันเหลือประมาณ 9 สกุล 100 ชนิด ชอบขึ้นในเขตร้อน พบทั่วไปในป่าเต็งรัง ในประเทศไทยพบ 1 สกุลคือ Cycad เช่น C. rumpii (ปรงทะเล) C. siamensis (มะพร้าวเต่า) C. circinalis
(มะพร้าวสีดา) C. micholitzii (ปรง) พืชในกลุ่มนี้เป็นพืชบก มีลักษณะคล้ายพวกปาล์ม ลำต้นตรง ไม่มีการแตกกิ่ง อาจมีลำต้นใต้ดิน หรือลำต้นอยู่ใต้ดินทั้งหมด มีแต่ใบที่โผล่ขึ้นเหนือดินเป็นกอ มีการเติบโตช้ามากโดยทั่วไปสูงประมาณ 1 เมตรแต่บางชนิดอาจสูงถึง 18 เมตร ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ติดกับลำต้นแบบวนเป็นเกลียว ใบมักเป็นกระจุกอยู่ที่ยอดลำต้น ที่ลำต้นส่วนล่าง ๆ จะเห็นรอยแผลเป็นที่ก้านใบเก่าร่วงไป ใบจะมีอายุยืนติดทนนาน ใบอ่อนมีลักษณะคล้ายใบเฟิร์นคือ ม้วนงอ โดยปลายใบย่อยจะม้วนงอเข้าหาแกนกลางของก้านใบ มีการสร้างสปอร์ 2 ชนิดคือ ไมโครสปอร์ จะเกิดอยู่ในไมโครสปอแรนเจียม ซึ่งอยู่บนไมโครสปอโรฟีล และอยู่กันเป็นกลุ่มในสโตรบิลัสเพศผู้ (Male strobilus) ส่วนเมกาสปอร์จะอยู่ในเมกาสปอแรนเจียมซึ่งเกิดอยู่บนเมกาสปอโรฟีลและอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเรียกว่า สโตรบิลัสเพศเมีย (Female strobilus) จะทำหน้าที่สร้างเมกาสปอร์ ซึ่งสโตรบิลัสเพศผู้และสโตรบิลัสเพศเมียจะแยกกันอยู่คนละต้น (Dioecious plant)โดยมักเกิดอยู่ที่ยอดลำต้นเมื่อไข่ในเมกาสปอแรนเจียมได้รับการผสมก็จะเจริญเป็นเมล็ด ปรงมีรากแก้วขนาดใหญ่มีระบบรากแขน และอาจพบ Nastoc หรือ Anabaena อาศัยอยู่ร่วมด้วย วงชีวิตเป็นแบบสลับ Sporophyte มีขนาดใหญ่เป็นที่อยู่ของ Gametophyte



ภาพที่ 3โคนตัวผู้
(ที่มาภาพ : http://www.pacsoa.org.au/cycads/Cycas/revoluta04.jpg
http://www.botany.uga.edu/images/greenhouses/cycad53.jpg)




ภาพที่ 3โคนตัวเมีย
(ที่มาภาพ : http://www.pacsoa.org.au/cycads/Cycas/revoluta04.jpg
http://www.botany.uga.edu/images/greenhouses/cycad53.jpg)

วันอังคารที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2560


  
ดิวิชันโคนิเฟอโรไฟตา (Division Coniferophyta)

                เป็นจิมโนสเปิร์มที่มีจำนวนมากที่สุด มีหลายสกุลด้วยกัน ที่รู้จักกันดีคือ Pinusได้แก่ สนสองใบ และสนสามใบ เป็นต้น สปอโรไฟต์ของ Pinusมีลักษณะเป็นไม้ยืนต้นขนาดค่อนข้างใหญ่ และแตกกิ่งก้านสาขาจำนวนมาก ใบมีขนาดเล็ก รูปร่างคล้ายเข็ม อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม สปอโรไฟต์ที่เจริญเต็มที่จะสร้างโคนเพศผู้ที่มีขนาดเล็กและโคนเพศเมียที่มีขนาดใหญ่บนต้นเดียวกัน


                พืชในกลุ่มนี้เนื้อไม่มีการเจริญขั้นที่สอง ใบเรียงตัวติดกับลำต้นแบบวนเป็นเกลียวหรือตรงข้าม ใบมักมีรูปร่างเป็นรูปเข็ม บางชนิดใบมีลักษณะเป็นเกล็ด ใบสีเขียว ระบบรากเป็นรากแก้วมักพบMycorhyza ที่ราก ด้วย ไซเลมประกอบด้วยเทรคีตเป็นส่วนใหญ่ คอร์เทกซืของต้นมักมีน้ำมันหรือยางที่มีกลิ่นเฉพาะ ในการสืบพันธุ์พบว่า สโตรบิลัสเพศผู้และสโตรบิลัสเพศเมียมักเกิดอยู่บนต้นเดียวกัน (Monoecious) สโตรบิลัสเพศเมียประกอบด้วยสเกล (Megasporophyll) ทำหน้าที่สร้างโวูล(Ovuliferous scale) ในแต่ละสโตรบิลัสมีสเกลหลายอัน แต่ละสเกลมักมีโอวูล 2 อัน ส่วนสโตรบิลัสเพศผู้จะประกอบด้วยสเกล (Microsporophyll)จำนวนมาก แต่ละสเกลจะมีการ สร้างละอองเกสรตัวผู้อยู่ภายในถุง (Pollensac) เมื่อโอวูลได้รับการผสมจะเจริญเป็นเมล็ดที่ภายในมีต้นอ่อนที่มีใบเลี้ยงตั้งแต่ 2 ใบจนถึงเป็นจำนวนมาก




ภาพที่ 4  โคนตัวผู้
(ที่มาภาพ : http://web.gccaz.edu/~lsola/NonFlwr/conif105.htm)




ภาพที่ 4 โคนตัวเมีย
(ที่มาภาพ : http://web.gccaz.edu/~lsola/NonFlwr/conif105.htm)




ภาพที่ 4 วงชีวิตของสน

วันจันทร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2560

ดิวิชันเทอโรไฟตา (Division Pterophyta)


                เฟิน เป็นพืชไม่มีดอก ไม่มีเมล็ด แต่หลายคนคงเคยได้เห็น เฟินที่เจริญเติบโตสมบูรณ์แข็งแรง มีสปอร์เกิดขึ้นที่ใต้ใบ ซึ่งเป็นส่วนที่เฟินสร้างขึ้นแล้วปล่อยแพร่กระจายออกไป เพื่อไปดำรงเผ่าพันธุ์ของมันสืบต่อไป นั้นเองหากเราได้ศีกษาให้ลึกลงไป ในวิถีการดำรงเผ่าพันธุ์ของมันแล้ว เราจะได้พบว่า เฟินมีชีวิตที่น่าอัศจรรย์ไม่น้อยเลย เป็นเรื่องที่น่าสนใจ น่าศึกษา โดยเฉพาะคนรักเฟินที่สนใจต้องการเพาะเฟินต้นใหม่จากสปอร์ ควรต้องทำความเข้าใจกับ วงจรชีวิต หรือ Life Cycle ของเฟิน เฟินและญาติของเฟิน มีวงจรชีวิตแบบสลับ Alternating generations แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ

                ระยะ Sporophyte ช่วงชีวิตระยะนี้ เฟินมีลักษณะแบบที่เราเห็น หรือเราปลูกเลี้ยงกันทั่วไป

                 ระยะ Gametophyte ฃ่วงชีวิตที่มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ

ลักษณะเด่นสำคัญใน 2 ระยะดังกล่าว คือ
                ระยะ Sporophyte มีการสร้างสปอร์ เพื่อกระจายออกไปขยายพันธุ์
ส่วนของต้นเฟินที่เราเห็นทั่วไป เซลล์ เป็น diploid คือ มี โครโมโซม 2 ชุด (2n) และสร้างสปอร์ เป็น haploid มีโครโมโซม 1 ชุด (n)
                ระยะ Gametophyte มีการสร้างโปรธัลลัสขึ้นจากสปอร์ มีโครโมโซม 1 ชุด (n) มีการสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพสผู้และเพศเมีย เพื่อการผสมพันธุ์และได้ต้นอ่อนเฟินใหม่ มีโครโมโซม 2n ที่เจริญเติบโตเป็น Sporophyte ต่อไป
                วงจรชีวิตของเฟิน มีการสลับไปมาระหว่าง 2 ระยะดังกล่าว ข้างต้นช่วงชีวิตของเฟินในระยะ Sporophyte นี้ ก็คือ เฟินที่เราพบเห็นทั่วไป เมื่อเฟินเจริญเติบโต เป็นต้นที่สมบูรณ์แข็งแรง มีอายุพอสมควร และอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เฟินจะสร้างสปอร์ขึ้น เพื่อการขยายพันธุ์ต่อไป
เฟินส่วนมาก สร้างสปอร์อยู่ที่ด้านล่างของใบ รูปร่างของสปอร์และการจัดเรียงตัวของกลุ่มสปอร์ แตกต่างกันไป ตามแต่ชนิดของเฟิน เมื่อพลิกดูด้านใต้ใบ ใบที่มีสปอร์ เราจะเห็นเป็นกลุ่มของสปอร์ ที่เรียกว่า Sporangia หรือ sori



ภาพที่ 25 Circinate vernation ในเฟิน
(ที่มาภาพ : http://sparkleberrysprings.com/v-web/b2/images/ferns/ferncircvern.jpg
http://www.eske-style.co.nz/images/Punga%20Frond.jpg)



ภาพที่ 27 Sori ของเฟิน
(ที่มาภาพ : http://www.farngarten.de/images/polypodiumsori3reif.JPG)





ภาพที่ 28 วงชีวิตของเฟิน
(ที่มาภาพ : http://cache.eb.com/eb/image?id=72159&rendTypeId=35)






วันอาทิตย์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2560

ดิวิชันสฟีโนไฟตา (Division Sphenophyta)

              ดิวิชันสฟีโนไฟตา (Division Sphenophyta) พืชที่มีท่อลำเลียงในดิวิชันนี้มีเพียง วงศ์เดียว คือ Equisetaceae แกมีโตไฟต์มีขนาดเล็ก เจริญอยู่ใต้ดิน สปอโรไฟต์มีขนาดใหญ่ อายุยืน มีซิลิกา ลำต้นเป็นข้อปล้องชัดเจน ปล้องเป็นร่องและสั้น ข้อมีใบแบบ ไมโครฟิลล์อยู่รอบข้อ เรียงแบบ whorl เป็น homosporous plant โดยสปอแรงเจียมเจริญอยู่บนโครงสร้างที่เรียกว่า สปอแรงจิโอฟอร์ (sporangiophore)
              ส่วนมากสูญพันธ์ไปแล้วเหลือเพียงสกุลเดียวคือ Equisetum ( หญ้าถอดปล้อง หรือหญ้าหางม้า) ลักษณะเด่น ช่วงชีวิตที่เห็นคือระยะ sporophyte มีรากที่ แท้จริงลำต้นมีทั้งที่อยู่บนดินและใต้ดิน (rhizome) ที่รากจะมี mycorrhiza ซึ่งจะช่วยในการ สลายสารที่พืชจะนำไปใช้ประโยชน์ ลำต้นบนดินมี 2 แบบ คือลำต้นที่แตกกิ่งก้านเป็นข้อ ๆ มีสีเขียว ทำหน้าที่สังเคราะห์แสง ซึ่งจะเป็นหมัน เรียกว่า sterile stem ส่วนอีกต้นหนึ่งจะ ไม่มีการแตกกิ่งก้าน ตอนปลายสุดจะสร้าง cone ซึ่งจะทำหน้าที่สร้าง cell สืบพันธุ์เรียกว่า Fertile stem แต่บางชนิดอาจจะไม่แบ่งเป็น fertile หรือ sterile






                 หญ้าถอดปล้องหรืออีควิเซตัม ลำต้นภายในจะกลวง ผิวจะเป็นร่องตามความยาว สากมือเพราะที่เซลล์ผิวจะมีสารพวก silica สะสมไว้ซึ่งจะช่วยเพิ่มความแข็งแรง (ใช้ในการทำความสะอาด) ใบจะเป็นเกร็ดขึ้นรอบ ๆ ข้อขณะที่ยังอ่อนจะสามารถสังเคราะห์แสงได้ เมื่อแก่จะมีสีน้ำตาลไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้

               ตอนปลายของลำต้นจะมี cone ที่สร้างสปอร์เรียกว่า strobilus มีก้านชูอับสปอร์เรียกว่า sporangiophore ภายในมี sporanguim เรียกว่า homospore ซึ่งจะมี elater ช่วยในการดีดตัวของ spore

                ระยะ แกมีโตไฟต์เพศผู้และ แกมีโตไฟต์ เพศเมีย จะงอกมาจากสปอร์แกมีโตไฟต์เพศผู้จะสร้าง สเปิร์ม ซึ่งมีลักษณะบิดเกลียวมี แฟลกเจลาหลายเส้น ส่วน ต้นแกมีโตไฟต์ตัวเมีย มีลักษณะเป็นแผ่นบาง ๆแยกออกเป็นแฉกๆมีสีเขียวสร้างอาหารเองได้ มีไรซอยด์ ไว้สำหรับดูดน้ำและเกลือแร่ เซลล์สืบพันธุ์ทั้งสองจะผสมกันเป็น สปอโรไฟต์ หญ้าถอดปล้อง หรือสนหางม้า (Equisetum) จะขึ้นใบที่ชื้นแฉะ






อ้างอิง http://biologyphylum.blogspot.com https://watikakandumee.wordpress.com https://nutjarinmee.wordpress.com http://www.mwit.ac.th/...