วันอังคารที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2560


  
ดิวิชันโคนิเฟอโรไฟตา (Division Coniferophyta)

                เป็นจิมโนสเปิร์มที่มีจำนวนมากที่สุด มีหลายสกุลด้วยกัน ที่รู้จักกันดีคือ Pinusได้แก่ สนสองใบ และสนสามใบ เป็นต้น สปอโรไฟต์ของ Pinusมีลักษณะเป็นไม้ยืนต้นขนาดค่อนข้างใหญ่ และแตกกิ่งก้านสาขาจำนวนมาก ใบมีขนาดเล็ก รูปร่างคล้ายเข็ม อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม สปอโรไฟต์ที่เจริญเต็มที่จะสร้างโคนเพศผู้ที่มีขนาดเล็กและโคนเพศเมียที่มีขนาดใหญ่บนต้นเดียวกัน


                พืชในกลุ่มนี้เนื้อไม่มีการเจริญขั้นที่สอง ใบเรียงตัวติดกับลำต้นแบบวนเป็นเกลียวหรือตรงข้าม ใบมักมีรูปร่างเป็นรูปเข็ม บางชนิดใบมีลักษณะเป็นเกล็ด ใบสีเขียว ระบบรากเป็นรากแก้วมักพบMycorhyza ที่ราก ด้วย ไซเลมประกอบด้วยเทรคีตเป็นส่วนใหญ่ คอร์เทกซืของต้นมักมีน้ำมันหรือยางที่มีกลิ่นเฉพาะ ในการสืบพันธุ์พบว่า สโตรบิลัสเพศผู้และสโตรบิลัสเพศเมียมักเกิดอยู่บนต้นเดียวกัน (Monoecious) สโตรบิลัสเพศเมียประกอบด้วยสเกล (Megasporophyll) ทำหน้าที่สร้างโวูล(Ovuliferous scale) ในแต่ละสโตรบิลัสมีสเกลหลายอัน แต่ละสเกลมักมีโอวูล 2 อัน ส่วนสโตรบิลัสเพศผู้จะประกอบด้วยสเกล (Microsporophyll)จำนวนมาก แต่ละสเกลจะมีการ สร้างละอองเกสรตัวผู้อยู่ภายในถุง (Pollensac) เมื่อโอวูลได้รับการผสมจะเจริญเป็นเมล็ดที่ภายในมีต้นอ่อนที่มีใบเลี้ยงตั้งแต่ 2 ใบจนถึงเป็นจำนวนมาก




ภาพที่ 4  โคนตัวผู้
(ที่มาภาพ : http://web.gccaz.edu/~lsola/NonFlwr/conif105.htm)




ภาพที่ 4 โคนตัวเมีย
(ที่มาภาพ : http://web.gccaz.edu/~lsola/NonFlwr/conif105.htm)




ภาพที่ 4 วงชีวิตของสน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

อ้างอิง http://biologyphylum.blogspot.com https://watikakandumee.wordpress.com https://nutjarinmee.wordpress.com http://www.mwit.ac.th/...