ดิวิชันสฟีโนไฟตา (Division Sphenophyta)
ส่วนมากสูญพันธ์ไปแล้วเหลือเพียงสกุลเดียวคือ Equisetum ( หญ้าถอดปล้อง หรือหญ้าหางม้า) ลักษณะเด่น ช่วงชีวิตที่เห็นคือระยะ sporophyte มีรากที่ แท้จริงลำต้นมีทั้งที่อยู่บนดินและใต้ดิน (rhizome) ที่รากจะมี mycorrhiza ซึ่งจะช่วยในการ สลายสารที่พืชจะนำไปใช้ประโยชน์ ลำต้นบนดินมี 2 แบบ คือลำต้นที่แตกกิ่งก้านเป็นข้อ ๆ มีสีเขียว ทำหน้าที่สังเคราะห์แสง ซึ่งจะเป็นหมัน เรียกว่า sterile stem ส่วนอีกต้นหนึ่งจะ ไม่มีการแตกกิ่งก้าน ตอนปลายสุดจะสร้าง cone ซึ่งจะทำหน้าที่สร้าง cell สืบพันธุ์เรียกว่า Fertile stem แต่บางชนิดอาจจะไม่แบ่งเป็น fertile หรือ sterile
หญ้าถอดปล้องหรืออีควิเซตัม ลำต้นภายในจะกลวง ผิวจะเป็นร่องตามความยาว สากมือเพราะที่เซลล์ผิวจะมีสารพวก silica สะสมไว้ซึ่งจะช่วยเพิ่มความแข็งแรง (ใช้ในการทำความสะอาด) ใบจะเป็นเกร็ดขึ้นรอบ ๆ ข้อขณะที่ยังอ่อนจะสามารถสังเคราะห์แสงได้ เมื่อแก่จะมีสีน้ำตาลไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้
ตอนปลายของลำต้นจะมี cone ที่สร้างสปอร์เรียกว่า strobilus มีก้านชูอับสปอร์เรียกว่า sporangiophore ภายในมี sporanguim เรียกว่า homospore ซึ่งจะมี elater ช่วยในการดีดตัวของ spore
ระยะ แกมีโตไฟต์เพศผู้และ แกมีโตไฟต์ เพศเมีย จะงอกมาจากสปอร์แกมีโตไฟต์เพศผู้จะสร้าง สเปิร์ม ซึ่งมีลักษณะบิดเกลียวมี แฟลกเจลาหลายเส้น ส่วน ต้นแกมีโตไฟต์ตัวเมีย มีลักษณะเป็นแผ่นบาง ๆแยกออกเป็นแฉกๆมีสีเขียวสร้างอาหารเองได้ มีไรซอยด์ ไว้สำหรับดูดน้ำและเกลือแร่ เซลล์สืบพันธุ์ทั้งสองจะผสมกันเป็น สปอโรไฟต์ หญ้าถอดปล้อง หรือสนหางม้า (Equisetum) จะขึ้นใบที่ชื้นแฉะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น