วันศุกร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2560

ดิวิชันแอนโทไฟตา (Division Anthophyta)
           พืชมีท่อลำเลียงจำแนกออกเป็น 2 กลุ่มหรือ 2 คลาส คือ คล าส   Magnoliopsida (Dicotyledons) และคลาส Liliopsida (Monocotyledons) โดยพืชทั้งสองกลุ่มมีความแตกต่างกันดังตารางเปรียบเทียบ

ที่มาภาพ เอกสารประกอบการเรียนวิชา ว40242 ความหลากหลายทางชีวภาพ

             พืชในคลาสนี้เป็นพืชมีดอก (Flowering plants) มีประมาณ 300,000 ชนิดอยู่ได้ทั่วไปทุกแห่งหน บางชนิดมีอายุเพียงฤดูกาลเดียว บางชนิดอายุยืนหลายร้อยปี บางชนิดมีขนาดใหญ่เกือบ 10 เมตรเช่น ยูคาลิปตัส แต่บางชนิดมีขนาดเล็กมากเช่น ผำ หรือไข่น้ำ (Wolffia )




                ลักษณะทั่วไปของพืชกลุ่มนี้คือ มีราก ใบ ลำต้นที่แท้จริง มีระบบท่อลำเลียงเจริญดีมาก Xylem ประกอบด้วย Vessel เป็นส่วนใหญ่ ทำหน้าที่ลำเลียงน้ำ ส่วน Phloem ทำหน้าที่ลำเลียงหาร มีอวัยวะสืบพันธุ์ คือ ดอกเจริญอยู่บนก้านดอก มีทั้งที่เป็นดอกสมบูรณ์ และดอกไม้สมบูรณ์ ดอกสมบูรณ์ประกอบด้วย Sepal PetalStamen และ Pistil เมล็ดมีรังไข่ห่อหุ้ม เมื่อรังไข่พัฒนาเต็มที่จะกลายเป็นผล มีการปฏิสนธิซ้อน มีวงชีวิตแบบสลับ แกมีโตไฟต์มีขนาดเล็กอยู่บนสปอโรไฟต์



ภาพที่ 1 การปฏิสนธิซ้อนในพืชดอก
(ที่มาภาพ : http://cache.eb.com/eb/image?id=72162&rendTypeId=35)




ภาพที่ 2 วงชีวิตแบบสลับของพืชดอก
(ที่มาภาพ : http://waynesword.palomar.edu/images/flcycle.gif)


ภาพที่ 3 เปรียบเทียบพืชดอกชนิดใบเลี้ยงเดี่ยวและใบเลี้ยงคู
(ที่มาภาพ : http://hawaii.hawaii.edu/laurab/generalbotany/images/monocots%20vs%20dicots.jpg)





วันพฤหัสบดีที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2560


ดิวิชันกิงโกไฟตา (Division Ginkophyta)

                ดิวิชันกิงโกไฟตา (Division Ginkophyta) ได้แก่ แป๊ะก๊วย (Ginkgo biloba) ลักษณะที่สำคัญ ลำต้นมีขนาดใหญ่คล้ายพืชดอก แผ่นใบกว้างมีลักษณะคล้ายรูปพัด ใบเรียงชิดกันมากจนเป็นวงรอบข้อ เจริญช้ามาก ต้น sporophyte จะแยกเพศ sperm มีขนาดเล็กเคลื่อนที่ได้มีเมล็ดแต่ไม่มีเครื่องห่อหุ้ม (naked seed) เมล็ดมีขนาดใหญ่ ใช้รับประทานได้ แป๊ะก๊วยชอบอากาศหนาวเย็นทนความหนาวเย็นได้ถึง -30 องศาฟาเรนไฮด์ ถือว่าเป็นพืชโบราณที่ยังเหลืออยู่ในปัจจุบัน มีวิวัฒนาการน้อยมากพบที่ประเทศจีน เกาหลี ญี่ปุ่น ชาวจีนนิยมปลูกต้นตัวผู้ไว้ในวัด ถือว่าเป็นเพศศักดิ์สิทธิ์ ในปัจจุบันเหลืออยู่เพียงชนิดเดียวคือ แป๊ะก๊วย (Ginkgo biloba)


แป๊ะก๊วย (Ginkgo biloba)




วันพุธที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2560

ดิวิชันไซแคโดไฟตา (Division Cycadophyta)

                
                เป็นพืชที่เรียกทั่วไปว่า Cycads หรือปรง พบได้ตั้งแต่ยุค Permian และแพร่กระจายมากในยุค Jurassic ในปัจจุบันเหลือประมาณ 9 สกุล 100 ชนิด ชอบขึ้นในเขตร้อน พบทั่วไปในป่าเต็งรัง ในประเทศไทยพบ 1 สกุลคือ Cycad เช่น C. rumpii (ปรงทะเล) C. siamensis (มะพร้าวเต่า) C. circinalis
(มะพร้าวสีดา) C. micholitzii (ปรง) พืชในกลุ่มนี้เป็นพืชบก มีลักษณะคล้ายพวกปาล์ม ลำต้นตรง ไม่มีการแตกกิ่ง อาจมีลำต้นใต้ดิน หรือลำต้นอยู่ใต้ดินทั้งหมด มีแต่ใบที่โผล่ขึ้นเหนือดินเป็นกอ มีการเติบโตช้ามากโดยทั่วไปสูงประมาณ 1 เมตรแต่บางชนิดอาจสูงถึง 18 เมตร ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ติดกับลำต้นแบบวนเป็นเกลียว ใบมักเป็นกระจุกอยู่ที่ยอดลำต้น ที่ลำต้นส่วนล่าง ๆ จะเห็นรอยแผลเป็นที่ก้านใบเก่าร่วงไป ใบจะมีอายุยืนติดทนนาน ใบอ่อนมีลักษณะคล้ายใบเฟิร์นคือ ม้วนงอ โดยปลายใบย่อยจะม้วนงอเข้าหาแกนกลางของก้านใบ มีการสร้างสปอร์ 2 ชนิดคือ ไมโครสปอร์ จะเกิดอยู่ในไมโครสปอแรนเจียม ซึ่งอยู่บนไมโครสปอโรฟีล และอยู่กันเป็นกลุ่มในสโตรบิลัสเพศผู้ (Male strobilus) ส่วนเมกาสปอร์จะอยู่ในเมกาสปอแรนเจียมซึ่งเกิดอยู่บนเมกาสปอโรฟีลและอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเรียกว่า สโตรบิลัสเพศเมีย (Female strobilus) จะทำหน้าที่สร้างเมกาสปอร์ ซึ่งสโตรบิลัสเพศผู้และสโตรบิลัสเพศเมียจะแยกกันอยู่คนละต้น (Dioecious plant)โดยมักเกิดอยู่ที่ยอดลำต้นเมื่อไข่ในเมกาสปอแรนเจียมได้รับการผสมก็จะเจริญเป็นเมล็ด ปรงมีรากแก้วขนาดใหญ่มีระบบรากแขน และอาจพบ Nastoc หรือ Anabaena อาศัยอยู่ร่วมด้วย วงชีวิตเป็นแบบสลับ Sporophyte มีขนาดใหญ่เป็นที่อยู่ของ Gametophyte



ภาพที่ 3โคนตัวผู้
(ที่มาภาพ : http://www.pacsoa.org.au/cycads/Cycas/revoluta04.jpg
http://www.botany.uga.edu/images/greenhouses/cycad53.jpg)




ภาพที่ 3โคนตัวเมีย
(ที่มาภาพ : http://www.pacsoa.org.au/cycads/Cycas/revoluta04.jpg
http://www.botany.uga.edu/images/greenhouses/cycad53.jpg)

วันอังคารที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2560


  
ดิวิชันโคนิเฟอโรไฟตา (Division Coniferophyta)

                เป็นจิมโนสเปิร์มที่มีจำนวนมากที่สุด มีหลายสกุลด้วยกัน ที่รู้จักกันดีคือ Pinusได้แก่ สนสองใบ และสนสามใบ เป็นต้น สปอโรไฟต์ของ Pinusมีลักษณะเป็นไม้ยืนต้นขนาดค่อนข้างใหญ่ และแตกกิ่งก้านสาขาจำนวนมาก ใบมีขนาดเล็ก รูปร่างคล้ายเข็ม อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม สปอโรไฟต์ที่เจริญเต็มที่จะสร้างโคนเพศผู้ที่มีขนาดเล็กและโคนเพศเมียที่มีขนาดใหญ่บนต้นเดียวกัน


                พืชในกลุ่มนี้เนื้อไม่มีการเจริญขั้นที่สอง ใบเรียงตัวติดกับลำต้นแบบวนเป็นเกลียวหรือตรงข้าม ใบมักมีรูปร่างเป็นรูปเข็ม บางชนิดใบมีลักษณะเป็นเกล็ด ใบสีเขียว ระบบรากเป็นรากแก้วมักพบMycorhyza ที่ราก ด้วย ไซเลมประกอบด้วยเทรคีตเป็นส่วนใหญ่ คอร์เทกซืของต้นมักมีน้ำมันหรือยางที่มีกลิ่นเฉพาะ ในการสืบพันธุ์พบว่า สโตรบิลัสเพศผู้และสโตรบิลัสเพศเมียมักเกิดอยู่บนต้นเดียวกัน (Monoecious) สโตรบิลัสเพศเมียประกอบด้วยสเกล (Megasporophyll) ทำหน้าที่สร้างโวูล(Ovuliferous scale) ในแต่ละสโตรบิลัสมีสเกลหลายอัน แต่ละสเกลมักมีโอวูล 2 อัน ส่วนสโตรบิลัสเพศผู้จะประกอบด้วยสเกล (Microsporophyll)จำนวนมาก แต่ละสเกลจะมีการ สร้างละอองเกสรตัวผู้อยู่ภายในถุง (Pollensac) เมื่อโอวูลได้รับการผสมจะเจริญเป็นเมล็ดที่ภายในมีต้นอ่อนที่มีใบเลี้ยงตั้งแต่ 2 ใบจนถึงเป็นจำนวนมาก




ภาพที่ 4  โคนตัวผู้
(ที่มาภาพ : http://web.gccaz.edu/~lsola/NonFlwr/conif105.htm)




ภาพที่ 4 โคนตัวเมีย
(ที่มาภาพ : http://web.gccaz.edu/~lsola/NonFlwr/conif105.htm)




ภาพที่ 4 วงชีวิตของสน

วันจันทร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2560

ดิวิชันเทอโรไฟตา (Division Pterophyta)


                เฟิน เป็นพืชไม่มีดอก ไม่มีเมล็ด แต่หลายคนคงเคยได้เห็น เฟินที่เจริญเติบโตสมบูรณ์แข็งแรง มีสปอร์เกิดขึ้นที่ใต้ใบ ซึ่งเป็นส่วนที่เฟินสร้างขึ้นแล้วปล่อยแพร่กระจายออกไป เพื่อไปดำรงเผ่าพันธุ์ของมันสืบต่อไป นั้นเองหากเราได้ศีกษาให้ลึกลงไป ในวิถีการดำรงเผ่าพันธุ์ของมันแล้ว เราจะได้พบว่า เฟินมีชีวิตที่น่าอัศจรรย์ไม่น้อยเลย เป็นเรื่องที่น่าสนใจ น่าศึกษา โดยเฉพาะคนรักเฟินที่สนใจต้องการเพาะเฟินต้นใหม่จากสปอร์ ควรต้องทำความเข้าใจกับ วงจรชีวิต หรือ Life Cycle ของเฟิน เฟินและญาติของเฟิน มีวงจรชีวิตแบบสลับ Alternating generations แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ

                ระยะ Sporophyte ช่วงชีวิตระยะนี้ เฟินมีลักษณะแบบที่เราเห็น หรือเราปลูกเลี้ยงกันทั่วไป

                 ระยะ Gametophyte ฃ่วงชีวิตที่มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ

ลักษณะเด่นสำคัญใน 2 ระยะดังกล่าว คือ
                ระยะ Sporophyte มีการสร้างสปอร์ เพื่อกระจายออกไปขยายพันธุ์
ส่วนของต้นเฟินที่เราเห็นทั่วไป เซลล์ เป็น diploid คือ มี โครโมโซม 2 ชุด (2n) และสร้างสปอร์ เป็น haploid มีโครโมโซม 1 ชุด (n)
                ระยะ Gametophyte มีการสร้างโปรธัลลัสขึ้นจากสปอร์ มีโครโมโซม 1 ชุด (n) มีการสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพสผู้และเพศเมีย เพื่อการผสมพันธุ์และได้ต้นอ่อนเฟินใหม่ มีโครโมโซม 2n ที่เจริญเติบโตเป็น Sporophyte ต่อไป
                วงจรชีวิตของเฟิน มีการสลับไปมาระหว่าง 2 ระยะดังกล่าว ข้างต้นช่วงชีวิตของเฟินในระยะ Sporophyte นี้ ก็คือ เฟินที่เราพบเห็นทั่วไป เมื่อเฟินเจริญเติบโต เป็นต้นที่สมบูรณ์แข็งแรง มีอายุพอสมควร และอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เฟินจะสร้างสปอร์ขึ้น เพื่อการขยายพันธุ์ต่อไป
เฟินส่วนมาก สร้างสปอร์อยู่ที่ด้านล่างของใบ รูปร่างของสปอร์และการจัดเรียงตัวของกลุ่มสปอร์ แตกต่างกันไป ตามแต่ชนิดของเฟิน เมื่อพลิกดูด้านใต้ใบ ใบที่มีสปอร์ เราจะเห็นเป็นกลุ่มของสปอร์ ที่เรียกว่า Sporangia หรือ sori



ภาพที่ 25 Circinate vernation ในเฟิน
(ที่มาภาพ : http://sparkleberrysprings.com/v-web/b2/images/ferns/ferncircvern.jpg
http://www.eske-style.co.nz/images/Punga%20Frond.jpg)



ภาพที่ 27 Sori ของเฟิน
(ที่มาภาพ : http://www.farngarten.de/images/polypodiumsori3reif.JPG)





ภาพที่ 28 วงชีวิตของเฟิน
(ที่มาภาพ : http://cache.eb.com/eb/image?id=72159&rendTypeId=35)






วันอาทิตย์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2560

ดิวิชันสฟีโนไฟตา (Division Sphenophyta)

              ดิวิชันสฟีโนไฟตา (Division Sphenophyta) พืชที่มีท่อลำเลียงในดิวิชันนี้มีเพียง วงศ์เดียว คือ Equisetaceae แกมีโตไฟต์มีขนาดเล็ก เจริญอยู่ใต้ดิน สปอโรไฟต์มีขนาดใหญ่ อายุยืน มีซิลิกา ลำต้นเป็นข้อปล้องชัดเจน ปล้องเป็นร่องและสั้น ข้อมีใบแบบ ไมโครฟิลล์อยู่รอบข้อ เรียงแบบ whorl เป็น homosporous plant โดยสปอแรงเจียมเจริญอยู่บนโครงสร้างที่เรียกว่า สปอแรงจิโอฟอร์ (sporangiophore)
              ส่วนมากสูญพันธ์ไปแล้วเหลือเพียงสกุลเดียวคือ Equisetum ( หญ้าถอดปล้อง หรือหญ้าหางม้า) ลักษณะเด่น ช่วงชีวิตที่เห็นคือระยะ sporophyte มีรากที่ แท้จริงลำต้นมีทั้งที่อยู่บนดินและใต้ดิน (rhizome) ที่รากจะมี mycorrhiza ซึ่งจะช่วยในการ สลายสารที่พืชจะนำไปใช้ประโยชน์ ลำต้นบนดินมี 2 แบบ คือลำต้นที่แตกกิ่งก้านเป็นข้อ ๆ มีสีเขียว ทำหน้าที่สังเคราะห์แสง ซึ่งจะเป็นหมัน เรียกว่า sterile stem ส่วนอีกต้นหนึ่งจะ ไม่มีการแตกกิ่งก้าน ตอนปลายสุดจะสร้าง cone ซึ่งจะทำหน้าที่สร้าง cell สืบพันธุ์เรียกว่า Fertile stem แต่บางชนิดอาจจะไม่แบ่งเป็น fertile หรือ sterile






                 หญ้าถอดปล้องหรืออีควิเซตัม ลำต้นภายในจะกลวง ผิวจะเป็นร่องตามความยาว สากมือเพราะที่เซลล์ผิวจะมีสารพวก silica สะสมไว้ซึ่งจะช่วยเพิ่มความแข็งแรง (ใช้ในการทำความสะอาด) ใบจะเป็นเกร็ดขึ้นรอบ ๆ ข้อขณะที่ยังอ่อนจะสามารถสังเคราะห์แสงได้ เมื่อแก่จะมีสีน้ำตาลไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้

               ตอนปลายของลำต้นจะมี cone ที่สร้างสปอร์เรียกว่า strobilus มีก้านชูอับสปอร์เรียกว่า sporangiophore ภายในมี sporanguim เรียกว่า homospore ซึ่งจะมี elater ช่วยในการดีดตัวของ spore

                ระยะ แกมีโตไฟต์เพศผู้และ แกมีโตไฟต์ เพศเมีย จะงอกมาจากสปอร์แกมีโตไฟต์เพศผู้จะสร้าง สเปิร์ม ซึ่งมีลักษณะบิดเกลียวมี แฟลกเจลาหลายเส้น ส่วน ต้นแกมีโตไฟต์ตัวเมีย มีลักษณะเป็นแผ่นบาง ๆแยกออกเป็นแฉกๆมีสีเขียวสร้างอาหารเองได้ มีไรซอยด์ ไว้สำหรับดูดน้ำและเกลือแร่ เซลล์สืบพันธุ์ทั้งสองจะผสมกันเป็น สปอโรไฟต์ หญ้าถอดปล้อง หรือสนหางม้า (Equisetum) จะขึ้นใบที่ชื้นแฉะ






วันเสาร์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2560


ดิวิชันไลโคไฟตา (Division Lycophyta)

               สปอโรไฟต์ของพืชดิวิชันนี้มีราก ลำต้น และใบครบทุกส่วน มีลักษณะเป็นไม้เนื้ออ่อนที่มีขนาดไม่ใหญ่มากนัก พวกที่เจริญอยู่บนพื้นดิน อาจมีลำต้นตั้งตรงหรือทอดนอน บางชนิดอาศัยเกาะบนต้นไม้อื่น ลำต้นแตกกิ่งเป็น 2 แฉก ใบมีขนาดเล็ก เป็นใบแบบไมโครฟิลล์ (microphyll) คือเป็นใบที่มีเส้นใบเพียงเส้นเดียว สปอโรไฟต์ที่เจริญเต็มที่แล้ว จะสร้างอับสปอร์บนใบที่มักมีรูปร่างและขนาดแตกต่างไปจากใบที่พบทั่วไป เรียกใบชนิดนี้ว่า สปอโรฟิลล์ (sporophyll) ซึ่งจะมาเรียงซ้อนกันแน่นอยู่ที่ปลายกิ่งเป็นโครงสร้างที่เรียกว่า สโตรบิลัส (strobilus) หรือโคน (cone) พืชในดิวิชันนี้มีทั้งที่สร้างสปอร์ชนิดเดียวและ 2 ชนิด ตัวอย่างที่รู้จักกันดีได้แก่ Lycopldiumและ Selaginella



ภาพที่ 19 Lycopodium
(ที่มาภาพ : http://flora.nhm-wien.ac.at/Bilder-G-O/Lycopodium-annotinum-2.jpg
http://www.kingsnake.com/westindian/lycopodiumsp1.JPG)



















ภาพที่ 20 Selaginella
(ที่มาภาพ : http://www.mygarden.me.uk/Selaginella%20braunii.jpg
http://www.ustboniface.mb.ca/cusb/abernier/Plantes/selaginella.jpg)











วันศุกร์ที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2560

ดิวิชันไซโลไฟตา (Division Psilophyta)

               พืชในดิวิชันนี้ที่พบได้ในประเทศไทย ได้แก่ Psilotumรู้จักกันในชื่อไทยว่า หวายทะนอยสปอโรไฟต์ของพืชนี้ มีรูปร่างลักษณะง่ายๆ คือมีแต่ลำต้นยังไม่มีรากและใบ ลำต้นมีลักษณะเป็นไม้เนื้ออ่อนขนาดสูงประมาณ 20 –30 เซนติเมตร ขึ้นอยู่ตามพื้นดิน (tcrrestrial) หรือเกาะติดกับต้นไม้อื่น (epiphyte) ลำต้นแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่อยู่ใต้ดินเป็นลำต้นชนิดไรโซม (rhizome) มีสีน้ำตาล และมีไรซอยด์ทำหน้าที่ดูดน้ำและแร่ธาตุ ลำต้นส่วนที่อยู่เหนือพื้นดิน (acrial stem) มีสีเขียว มีลักษณะเป็นเหลี่ยม ลำต้นส่วนนี้ทำหน้าที่สังเคราะห์แสง ทั้งลำต้นใต้ดินและลำต้นเหนือพื้นดิน แตกกิ่งเป็น 2 แฉก (dichotomous branching) ที่ส่วนของลำต้นเหนือพื้นดินมีระยางค์เล็กๆ (appcndage) ยื่นออกมาเห็นได้ทั่วไป สปอโรไฟต์ที่เจริญต้นที่จะสร้างอับสปอร์ที่มีรูปร่างเป็น 3 พู ที่ซอกของระยางค์บนลำต้นเหนือพื้นดิน อับสปอร์สร้างสปอร์ชนิดเดียว แกมีโทไฟต์มีขนาดเล็ก สีน้ำตาลไม่มีคลอโรฟิลล์ รูปร่างเป็นแท่งทรงกระบอก แตกแขนงได้





ภาพที่ 17 ระยะแกมมีโตไฟต์ของหวายทะนอย
(ที่มาภาพ : http://www.siu.edu/~perspect/01_sp/pics/psilotum.jpg
http://www.humboldt.edu/~dkw1/images/P01-Psilotum600Gpt(labels)t.jpg)






ภาพที่ 18 (ซ้าย) หวายทะนอยระยะสปอโรไฟต์ (ขวา) อับสปอร์ของหวายทะนอย
(ที่มาภาพ : http://www.emc.maricopa.edu/faculty/farabee/BIOBK/psi_nud_mid.jpg
http://www.ucmp.berkeley.edu/plants/pterophyta/psilotales/psilosporangia.jpg)





ภาพแสดงลักษณะและวงชีวิตของ Psilotum




วันพฤหัสบดีที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2560

พืชมีท่อลำเลียง (Vascular Plants)

            พืชที่มีท่อลำเลียงเป็นพืชกลุ่มที่พบมากที่สุดคือ ประมาณ 250,000 ชนิด พืชกลุ่มนี้แตกต่างจากกลุ่มไบรโอไฟต์คือ มีขนาดใหญ่ อาศัยอยู่บนพื้นดินที่ไม่จำเป็นต้องชื้นแฉะมากเป็นส่วนใหญ่ มีการพัฒนาเนื้อเยื่อไปเป็นใบที่ทำหน้าที่รับพลังงานแสง มีรากที่ช่วยในการยึดเกาะและดูดน้ำและแร่ธาตุต่าง ๆ มีการพัฒนาระบบท่อลำเลียง (Vascular system) และเพื่อเป็นการช่วยค้ำจุนท่อลำเลียงของพืชจึงต้องมีเนื้อเยื่อที่เสริมให้ความแข็งแรงคือ Ligninified tissue ซึ่งพบในผนังเซลล์ชั้นที่สอง (Secondary wall) เนื้อเยื่อลำเลียงสามารถลำเลียงน้ำและสารอาหารไปยังส่วนต่าง ๆ ของพืชได้ตลอดทุกส่วนของพืช นอกจากนั้นเนื้อเยื่อผิวยังทำหน้าที่แลกเปลี่ยนแกสและป้องการสูญเสียน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วันพุธที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2560

ดิวิชันไบรโอไฟตา (Division Bryophyta)



               เรียกโดยทั่วไปว่า ไบรโอไฟต์ (bryophyte)มีทั้งสิ้นประมาณ 16,000 ชนิด พืชในดิวิชันนี้มีขนาดเล็ก มีโครงสร้างง่ายๆ ยังไม่มีราก ลำต้นและใบที่แท้จริง ชอบอาศัยอยู่ตามที่ชุ่มชื้น การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศยังต้องอาศัยน้ำสำหรับให้สเปิร์มที่มีแฟลกเจลลา (flagella) ว่ายไปผสมกับไข่ ต้นที่พบเห็นโดยทั่วไปคือแกมีโทไฟต์ (มีแกมีโทไฟต์เด่น) รูปร่างลักษณะมีทั้งที่เป็นแผ่นหรือแทลลัส (thallus) และคล้ายลำต้นและใบของพืชชั้นสูง (leafy form) มีไรซอยด์ (rhizoid)สำหรับยึดต้นให้ติดกับดินและช่วยดูดน้ำและแร่ธาตุ มีส่วนคล้ายใบ เรียก phylloidและส่วนคล้ายลำต้นเรียกว่า cauloidแกมีโทไฟต์ของไบรโอไฟต์มีสีเขียวเพราะมีคลอโรฟิลล์สามารถสร้างอาหารได้เอง ทำให้อยู่ได้อย่างอิสระ เมื่อแกมีโทไฟต์เจริญเต็มที่จะสร้างเซลล์สืบพันธุ์คือสเปิร์มและไข่ต่อไป ภายหลังการปฏิสนธิของสเปิร์มและไข่จะได้ไซโกตซึ่งแบ่งตัวเจริญต่อไปเป็นเอ็มบริโอและสปอร์โรไฟต์ตามลำดับ สปอโรไฟต์ของ ไบรโอไฟต์มีรูปร่างลักษณะง่าย ๆ ไม่สามารถอยู่ได้อย่างอิสระจะต้องอาศัยอยู่บนแกมีโทไฟต์ตลอดชีวิต พืชในดิวิชันนี้สร้างสปอร์เพียงชนิดเดียว

จำแนกพืชในดิวิชันไบรโอไฟตาได้เป็น 3 คลาส (Class) ดังต่อไปนี้

1.คลาสเฮปาทิคอปซิดา (Class Hepaticopsida) เรียกโดยทั่วไปว่า ลิเวอร์เวิร์ต (liverwort) มีอยู่ประมาณ 6,000ชนิด แกมีโทไฟต์มีทั้งที่เป็นแทลลัส (thalloid liverwort) และที่คล้ายคลึงกับลำต้นและใบ (leafy liverwort) สปอโรไฟต์มีส่วนประกอบ เป็น 3ส่วน คือ ฟุต (foot) เป็นเนื้อเยื่อที่ฝังตัวอยู่ในเนื้อเยื่อแกมีโทไฟต์ เพื่อทำหน้าที่ดูดอาหารมาใช้ ก้านชูอับสปอร์ (stalk หรือ seta) และอับสปอร์ (sporangium หรือ capsule) ที่ทำหน้าที่สร้างสปอร์ ตัวอย่างของลิเวอร์เวิร์ตที่เป็นแทลลัส ได้แก่ Marchantia และที่มีลักษณะคล้ายลำต้นและใบ ได้แก่ Porella แกมีโทไฟต์ของ Marchantia มีขนาดเล็ก ลักษณะเป็นแผ่นแบนราบ ตอนปลายแตกแขนงเป็น 2 แฉก (dichotomous branching) ด้านล่างของเทลลัสมีไรซอยด์ ด้านบนมักพบโครงสร้างที่มีรูปร่างคล้ายถ้วย เรียกว่า เจมมา คัป (gemma cup) ภายในเนื้อเยื่อเจมมา(gemma)อยู่จำนวนหนึ่ง ซึ่งเมื่อแต่ละเจมมา หลุดออกจากเจมมาคัปแล้ว สามารถเจริญแกมีโทไฟต์ต้นใหม่ได้ นับเป็นการสืบพันธุ์แบบไม่ อาศัยเพศ แบบหนึ่งนอกเหนือไปจากการแยกออกเป็นส่วนๆ (fragmentation) เสเปิร์มและไข่ถูกสร้างขึ้นในอวัยวะ ที่มารวมกลุ่มเป็นโครงสร้างที่มีลักษณะ เป็นก้านชู ที่เจริญอยู่บนแกมีโทไฟต์






ภาพที่ 10 ระยะ Sporophyte ของ Liverworts
(ที่มาภาพ : http://cber.bio.waikato.ac.nz/courses/226/Liverworts/Liverworts_files/image001.jpg
http://www.biology.iastate.edu/Courses/211L/Bryoph/marchantia.jpg)




ภาพที่ 11Antheridiophores 
(ที่มาภาพ : http://www.biology.iastate.edu/Courses/211L/Bryoph/%20BryoINDX1.htm)
Division Anthocerophyta



ภาพที่ 11 Archegoniophores
(ที่มาภาพ : http://www.biology.iastate.edu/Courses/211L/Bryoph/%20BryoINDX1.htm)

2.คลาสแอนโทเซอรอปซิดา (Class Anthoceropsida) เรียกโดยทั่วไปว่า ฮอร์นเวิร์ต (hornwort) ไบรโอไฟต์ในดิวิชันนี้มีจำนวนไม่กี่ชนิด ตัวอย่างเช่น Anthoceros แกมีโทไฟต์มีลักษณะเป็นแทลลัสขนาดเล็ก รูปร่างค่อนข้างกลมมน ที่ขอบมีรอยหยักเป็นลอน ด้านล่างมีไรซอยด์ สืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ โดยการแยกออกเป็นส่วนๆ เช่นเดียวกับพวกลิเวอร์เวิร์ต ต้นสปอไรไฟต์มีรูปร่างเรียวยาว ฝังตัวอยู่ด้านบน ของแกมีโทไฟต์ ประกอบไปด้วยฟุต และอัปสปอร์ขนาดยาว ซึ่งเมื่อเจริญเต็มที่ ปลายของอับสปอร์จะค่อย ๆ แตกออกเป็น 2 แฉก ทำให้มองดูคล้ายเขาสัตว์ จึงเรียกว่า ฮอร์นเวิร์ต


ภาพที่ 12 ระยะ Sporophyte ของ Hornworts
(ที่มาภาพ : http://botit.botany.wisc.edu/images/130/Bryophytes/Anthocerophyta/
Hornwort_w_sporophytes.low.jpg)




ภาพที่ 13 Anthoceros sp.
(ที่มาภาพ : http://home.manhattan.edu/~frances.cardillo/plants/nonvas/antho1.gif
http://botit.botany.wisc.edu/images/130/Bryophytes/Anthocerophyta/Anthoceros.low.jpg)

3.คลาสไบรออฟซิดา (Class Bryopsida) เรียกโดยทั่วไปว่า มอส (moss) เป็น ไบรโอไฟต์กลุ่มที่มีมากที่สุด คือประมาณ 9,500 ชนิด ต้นแกมีโทไฟต์มีขนาดเล็ก ลักษณะคล้ายลำต้นและใบ ส่วนที่คล้ายใบ เรียงตัวเป็นเกลียว โดยรอบส่วนที่คล้ายลำต้น มีไรซอยต์อยู่ในดิน สปอโรไฟต์มีลักษณะง่าย ๆ เกิดบนปลายยอดหรือปลายกิ่ง มีส่วนประกอบคือ ฟุต ก้านชูอับสปอร์ และอับสปอร์  





ภาพที่ 16 Sphagnum moss
(ที่มาภาพ : http://www.fs.fed.us/wildflowers/regions/pacificnorthwest/ToolboxMeadow/
images/sphagnum_squarrosum_lg.jpg)



ภาพที่ 15 วงชีวิตของมอส
(ที่มาภาพ : http://kentsimmons.uwinnipeg.ca/16cm05/1116/29-16-PolytrichumLifeCyc-L3.gif)












วันอังคารที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2560

พืชไม่มีท่อลำเลียง (Non vascular plants)

              เชื่อว่าพืชกลุ่มนี้เป็นกลุ่มแรก ๆ ที่วิวัฒนาการขึ้นสู่บนบก จึงยังคงมีลักษณะที่ต้องการความชุ่มชื้นหรือน้ำเพื่อการอยู่รอด และอาศัยน้ำในการสืบพันธุ์ ดังนั้นจึงมักพบเจริญตามพื้นดินที่มีความชื้นมาก อย่างไรก็ตามพืชกลุ่มนี้ค่อนข้าง sensitive ต่อซัลเฟอร์ไดออกไซด์ จึงสามารถใช้เป็นตัวบอกสภาวะมลภาวะในอากาศได้เช่นเดียวกับ Lichen พืชในกลุ่มนี้มีขนาดเล็ก ไม่มีระบบท่อลำเลียง และไม่มีเนื้อเยื่อที่เป็นสารลิกนิน(Lignified tissues) เซลล์มีสัดส่วนของคลอโรฟีลลเอ และบี ใกล้เคียงกับสาหร่ายสีเขียว รวมถึงมีต้นอ่อน(Protonema) ในระยะแกมีโตไฟท์ที่คล้ายคลึงกับสาหร่ายสีเขียว พืชกลุ่มนี้ไม่มี ราก ใบ ที่แท้จริง แต่มีRhizoid ช่วยในการยึดเกาะกับวัสดุที่เจริญอยู่ มีส่วนของ Phylloid ที่ดูคล้ายใบ และส่วน Cauloid ที่ดูคล้ายต้น ดังที่กล่าวไว้เบื้องต้นพืชมีวงชีวิตแบบสลับพืชในกลุ่มนี้จะมีระยะ Gametophyte เด่นกว่าSporophyte โดย Sporophyte ที่มีขนาดเล็กมากนั้นจะเจริญพัฒนาอยู่บน Gametophyte ตลอดชีวิต

วันจันทร์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2560



             สิ่งมีชีวิตในอาณาจักรพืช มีหน้าที่สำคัญต่อระบบนิเวศคือการทำหน้าที่เป็นผู้ผลิตให้กับสายใยอาหาร เนื่องจากพืชสามารถนำสารอนินทรีย์ที่มีอยู่ในสิ่งแวดล้อมมาใช้ในการสร้างอาหารพวกคาร์โบไฮเดรต เช่น แป้งและน้ำตาลให้กับสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นที่ไม่สามารถสร้างอาหารเองได้นอกจากคาร์โบไฮเดรต สิ่งที่ได้จากกระบวนการสังเคราะห์อาหารด้วยแสงของพืชยังมีแก๊สออกซิเจนซึ่งเป็นแก๊สที่สิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่ในโลกนี้จำเป็นต้องใช้ในกระบวนการหายใจและพืชใช้แก๊สO2เป็นวัตถุดิบในการสร้างอาหารพืชจึงมีบทบาทในการช่วยรักษาอุณหภูมิโลกส่วนหนึ่งดังมีรายงานยืนยันว่า ป่าในเขต Tropic มีส่วนช่วยในการลดความร้อนของโลก (อย่างไรก็ตามเนื่องจาก Scientific uncertainty ข้อมูลดังกล่าวมีข้อเสนอที่แตกต่างออกไปด้วยคือมีรายงานบางฉบับระบุว่าป่านอกเขต Tropic เป็นตัวกักเก็บความร้อนไว้)
พืชเป็นสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ที่ประกอบขึ้นจากเซลล์แบบยูคาริโอติกแต่พืชต่างจากสัตว์ที่พืชนั้นมีผนังเซลล์และพืชนั้นแตกต่างจากเห็ดราเพราะองค์ประกอบของผนังเซลล์เป็นสารพวกเซลลูโลสเป็นส่วนใหญ่พืชสามารถแปรเปลี่ยนพลังงานจากแสงให้เก็บไว้ในรูปของพลังงานเคมีโดยอาศัยรงควัตถุต่างๆ
การจัดจำแนกพืชนั้นมีด้วยกันหลายแบบจากหลายกลุ่มที่ทำการศึกษาในยุคของWhittacker (1986) ได้แบ่งพืชออกเป็น 3 กลุ่มคือสาหร่ายหลายเซลล์ (Multicellular algae) ไบรโอไฟท์ (Bryophyte) และเทรคีโอไฟต์ (Tracheophyte) และต่อมาเมื่อมีการนำความรู้ด้านชีววิทยาโมเลกุลมาช่วยในการจัดกลุ่มก็มีการเปลี่ยนแปลงไปไปอีกและมีรูปแบบการจัดที่หลากหลายมากมายมีการเปลี่ยนแปลงชื่อวิทยาศาสตร์ตั้งแต่ระดับ Division ไปจนถึงระดับSpecies หากแบ่งรูปแบบการจัดจำแนกพืชจากอดีตถึงปัจจุบันอาจแบ่งเป็น 5 ยุค คือ

ยุคที่ 1 ยุคโบราณ (Period of the Ancients ก่อนคริสต์ศักราช 300 ปีค.ศ.1500)
การจัดจำแนกพืชในยุคนี้มีการจำแนกพืชโดยใช้รูปร่าง (Form) ลักษณะนิสัย (Habit) และ
ขนาด (Size) หรือการใช้ประโยชน์ของพืชเป็นหลักนักพฤกษศาสตร์ที่สำคัญในยุคนี้ คือ Theophrastus ซึ่งได้ชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างของพืชมีดอกกับพืชไม่มีดอกพืชมีเพศผลเจริญมาจากรังไข่และจัดพวกไม้ยืนต้นเป็นพวกที่มีความเจริญสูงสุด


ยุคที่ 2 ยุคนักสมุนไพร (Period of the Herbalists ค.ศ.1500-1580)
ในยุคนี้มีนักพฤกษศาสตร์ที่ศึกษาพืชสมุนไพรและการจัดจำแนกพืชออกเป็น 2 กลุ่มคือกลุ่ม
พืชมีดอก (Perfecti) และกลุ่มพืชที่ไม่มีการสร้างดอก (Imperfecti) และแบ่งกลุ่มพืชตามลักษณะภายนอกที่เห็นคือไม้ยืนต้นและไม้พุ่มและไม้เนื้ออ่อน


ยุคที่ 3 ยุคที่มีการจัดจำแนกพืชโดยเลือกลักษณะสำคัญบางอย่างของพืชขึ้นมาเป็นหลัก
(Period of Mechanical Systems ค.ศ.1580-1760)
ยุคนี้นำเอาลักษณะของอวัยวะที่สำคัญของพืชมาใช้เป็นหลักในการจำแนกเช่นลักษณะของเกสรตัวผู้และตัวเมียนักพฤกษศาสตร์ที่สำคัญในยุกต์นี้คือ (Carolus Linnaeus) ซึ่งได้จัดจำแนกพืชเป็นหมวดหมู่โดยใช้จำนวนเกสรตัวผู้ของพืชเป็นหลักและมีการตีพิมพ์กฎเกณฑ์การตั้งชื่อระบบการจัดจำแนกพืชของ Linnaeusได้รับความนิยมมากในสมัยนั้นแต่ต่อมามีระบบใหม่ที่เหมาะสมกว่าเกิดขึ้นและนิยมใช้มากกว่า


ยุคที่ 4 ยุคที่มีการจำแนกโดยยึดหลักใกล้เคียงกับธรรมชาติมากที่สุด
(Period of Natural System ค.ศ.1760-1880)
ในยุคนี้มีแนวคิดว่าธรรมชาติสามารถอยู่คงที่จึงสามารถยึดหรือนำเอาลักษณะสำคัญของสิ่งมีชีวิตมาเป็นหลักในการจำแนกทั้งลักษณะโครงสร้างสัณฐานของอวัยวะแทบทุกส่วนของพืชมาใช้ประกอบและยังคำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มที่มีสายพันธุ์ใกล้ชิดและใช้ลักษณะของดอกมาเป็นหลักในการแบ่งแยกกลุ่มพืชมากที่สุด


ยุคที่ 5 ยุคที่มีการจัดจำแนกตามแนวคิดของประวัติวิวัฒนาการจนถึงปัจจุบัน
(Period of PhylogenicSystem ค.ศ.1880-ปัจจุบัน)
Arthur Cronquist (1966) ได้มีการศึกษาและจำแนกพืชตามดิวิชั่นโดยใช้รากฐานมาจากโครงสร้างประวัติวิวัฒนาการโดยใช้ศาสตร์หลายแขนงมารวมกันโดยแบ่งอาณาจักรพืชออกเป็น 2 Sub-kingdom ดังนี้
1. Subkingdom Thallobionta ได้แก่ แบคทีเรียสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินสาหร่ายและเห็ดรา
2. Subkingdom Embryobionta ได้แก่ อาณาจักรพืช (Plantae) ซึ่งแบ่งเป็น Division ดังนี้
2.1) Division ของพืชที่ไม่มีเนื้อเยื่อลำเลียง (Nonvascular plants) ได้แก่ Division Bryophyta
(มอส) Hepatophyta (ลิเวอร์เวอร์ท) Anthocerotophyta (ฮอร์นเวอร์ท)
2.2) Division ของพืชที่มีเนื้อเยื่อลำเลียงแต่ไม่มีเมล็ด (Vascular plants without seeds) ได้แก่
Division PsilotophytaLycophytaEquisetophytaPteridophyta
2.3) Division ของพืชที่มีเนื้อเยื่อลำเลียงมีเมล็ดแต่ไม่มีดอก (Gymnosperms) ได้แก่ Division
ConiferophytaCycadophytaGinkgophytaGnetophyta
2.4) Division ของพืชที่มีเนื้อเยื่อลำเลียงมีเมล็ดและมีดอก (Angiosprems) ได้แก่
Division Magnoliophyta (=Angiospermae) นี้แบ่งออกเป็น 2 Class คือClass Magnoliopsida
(พืชใบเลี้ยงคู่) แยกเป็น 6 Sub-class 64 อันดับ 318 วงศ์รวมมีพืชประมาณ 165,000 ชนิด
Class Liliopsida (พืชใบเลี้ยงเดี่ยว) แยกเป็น 5 Sub-class 19 อันดับ 65 วงศ์รวมมีพืชทั้งหมด
50,000 ชนิด

อ้างอิง http://biologyphylum.blogspot.com https://watikakandumee.wordpress.com https://nutjarinmee.wordpress.com http://www.mwit.ac.th/...